ข่าว

'นายกสมาคมขนส่งสินค้าฯ' วอนรัฐ-เอกชน ร่วมมือพัฒนา ‘ผู้ประกอบการขนส่งฯ’

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ดร.สุนทร นายกสมาคมขนส่งสินค้าฯ เผย รัฐ-เอกชน ต้องจับมือมุ่งเป้าพัฒนาสมรรถนะ ‘ผู้ประกอบการขนส่งสินค้ารถบรรทุก’ หวังผลขับเคลื่อนขนส่งปลอดภัย มีประสิทธิภาพเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขานรับนโยบายกระทรวงคมนาคม

ดร.สุนทร ผจญ นายกสมาคมขนส่งสินค้านำเข้าและส่งออก ผู้แทนสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย เป็นวิทยากรร่วมเสวนาในหัวข้อ “โอกาส ความท้าทาย และอนาคตการขนส่งทางถนนของประเทศไทย” จัดโดย กรมการขนส่งทางบก ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพคเมืองทองธานี เมื่อวันที่ 9 ต.ค. ที่ผ่านมา

 

'นายกสมาคมขนส่งสินค้าฯ' วอนรัฐ-เอกชน ร่วมมือพัฒนา ‘ผู้ประกอบการขนส่งฯ’

 

ในงานนี้ นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม(รมช.คมนาคม) รวมถึง นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก และผู้บริหาร มอบรางวัลมาตรฐานการขนส่งสินค้าและบริการ Q mark และ Q cold chain ให้กับผู้ประกอบการขนส่งที่ผ่านการประเมิน เป็นการขับเคลื่อนการขนส่งที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามนโยบายกระทรวงคมนาคม อีกด้วย

 

ในเวทีเสวนา ดร.สุนทร ผจญ กล่าวว่า ภาครัฐและผู้ประกอบการขนส่งต้องเห็นเป้าหมายร่วมกัน เห็นภาพเดียวกัน ในการขับเคลื่อนการพัฒนาการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก ให้มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญ

 

 

ดร.สุนทร ผจญ

การพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก รัฐและเอกชนต้องบริหารจัดการใน 4 ด้าน ได้แก่

 

1.ด้านนโยบายรัฐ ได้แก่ กฎหมาย กฎระเบียบ ที่ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องปฎิบัติตามแลการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นธรรม นโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนผู้ประกอบการ เช่น จุดพักรถที่ครอบคลุมเส้นทางการขนส่งหลัก การเชื่อมต่อการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ลดระยะเวลารอคอย ลดปัญหาคอขวด เป็นต้น และนโยบายการพัฒนาผู้ประกอบการ เช่น มาตรฐาน Q mark, TSM และการพัฒนาพนักงานขับรถบรรทุก เป็นต้น นโยบายรัฐต้องมุ้งเน้นสนับสนุนผู้ประกอบการให้มากกว่าการควบคุม

 

2.ด้านการจัดการองค์กร ได้แก่ การบริหารบุคลากรขนส่งโดยเฉพาะคนขับรถที่ต้องมีกระบวนการพัฒนาที่นำไปสู่เป้าหมายคือการขับขี่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ การจัดการด้านเงินทุนหมุนเวียนและการบริหารต้นทุน ซึ่งภาครัฐควรช่วยสนับสนุนแหล่งเงินทุนที่สามารถจับต้องได้ ระบบมาตรฐาน Q-mark จะช่วยให้การจัดการองค์กรขนส่งให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น

 

'นายกสมาคมขนส่งสินค้าฯ' วอนรัฐ-เอกชน ร่วมมือพัฒนา ‘ผู้ประกอบการขนส่งฯ’

 

3.ด้านเทคโนโลยีขนส่ง เทคโนโลยีความปลอดภัยในตัวรถและจีพีเอส จะช่วยให้การขนส่งมีประสิทธิภาพ

 

 

4.ด้านการปฏิบัติการขนส่งสินค้า ที่ต้องจัดการคำสั่งซื้อ/ข้อตกลงลูกค้า การวางแผน การปฏิบัติการขนส่งและการควบคุม การบริหารเที่ยวกลับ และการซ่อมบำรุงรถบรรทุกให้มีสภาพพร้อมใช้งาน ทั้งหมดเพื่อประสิทธิภาพการขนส่ง ลดต้นทุน ประหยัดเวลา การขนส่งที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

 

'นายกสมาคมขนส่งสินค้าฯ' วอนรัฐ-เอกชน ร่วมมือพัฒนา ‘ผู้ประกอบการขนส่งฯ’

“สิ่งที่ผมอยากฝากกับภาครัฐที่เกี่ยวข้อง คือเรื่องการเชื่อมโยงการขนส่ง Connectivity การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต้องเชื่อมโยงการขนส่งแบบไร้รอยต่อ ลดเวลารอคอย ลดปัญหาคอขวด เนื่องจากผู้ประกอบการขนส่งประสบปัญหาการจราจรติดขัดมาก โดยเฉพาะการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือแหลมฉบังและไอซีดีลาดกระบัง เกิดต้นทุนการขนส่งมาก และยังเกิดปัญหามลพิษ pm2.5 อีกด้วย ควรมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจัดการการเชื่อมโยงที่มีประสิทธิภาพ มีเจ้าภาพจัดการแบบบูรณาการ” ดร.สุนทร กล่าว

 

'นายกสมาคมขนส่งสินค้าฯ' วอนรัฐ-เอกชน ร่วมมือพัฒนา ‘ผู้ประกอบการขนส่งฯ’

 

ดร.สุนทร กล่าวอีกว่า เรื่องการแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 จากแหล่งกำเหนิดคือรถบรรทุก โดยใช้รถใหม่ที่เป็น EV หรือไฮโดรเจน อาจต้องใช้ระยะเวลาอีก 5-10 ปีข้างหน้า เรื่องเร่งด่วน ควรแก้ปัญหาที่รถเก่าที่มีอายุการใช้งาน 5 - 15 ปี จะทำอย่างไร กรมการขนส่งทางบก มีข้อมูลจำนวนรถแต่ละประเภท และมีการตรวจสภาพก่อนต่อภาษี

 

'นายกสมาคมขนส่งสินค้าฯ' วอนรัฐ-เอกชน ร่วมมือพัฒนา ‘ผู้ประกอบการขนส่งฯ’

 

ดังนั้น หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง สามารถร่วมกับสถาบันการศึกษาผลิตเทคโนโลยีนวัตกรรม เช่น เทคโนโลยีกรองท่อไอเสีย หรือ เทคโนโลยีติดเครื่องยนต์ ที่สามารถป้องกันการปล่อยฝุ่นพิษ PM2.5 ได้ แจกหรือจำหน่ายราคาถูก ติดตั้งให้กับรถบรรทุกหรือรถยนต์เก่าที่ปล่อยฝุ่นพิษเกินมาตรฐานกำหนดเมื่อมาตรวจสภาพ เรื่องนี้ควรเป็นแผน หรือ นโยบายเร่งด่วนที่จะสนับสนุนผู้ประกอบการขนส่งและประชาชน

 


 

"เรื่องสุดท้ายที่อยากจะฝากกรมการขนส่งทางบก ตามข่าวสารที่มีการเผยแพร่ ศาลปกครองกลาง สั่งเพิกถอนประกาศ ตร. เรื่องกำหนดแบบใบสั่งและค่าปรับใบสั่งจราจร พ.ศ.2563 พิพากษาเป็นกฎที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย รถยนต์ทั่วไปและรถบรรทุกที่โดนใบสั่ง เรื่องจะติดค้างอยู่ในระบบกรมการขนส่งทางบก ทำให้ไม่สามารถดำเนินการต่อภาษีได้และจะเป็นปัญหาต่อการขนส่ง กรมการขนส่งทางบกควรเร่งช่วยหาทางแก้ไขปัญหาและกำหนดแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจนต่อไปสำหรับรถบรรทุก” ดร.สุนทร กล่าวสรุป

 

'นายกสมาคมขนส่งสินค้าฯ' วอนรัฐ-เอกชน ร่วมมือพัฒนา ‘ผู้ประกอบการขนส่งฯ’

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ