ข่าว

บทสรุปงานประชุมวิชาการ "อารักขาพืชแห่งชาติ" มุ่งต่อยอดงานวิจัย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นายกสมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร เผยผลสำเร็จการ ประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 15 ภายใต้ธีม “เกษตรยุคใหม่ ทันสมัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” มุ่ก่อนส่งไม้ต่อให้นายกสมาคมกีฏและสัตววิทยาแห่งประเทศไทยประธานจัดงานครั้งต่อไป

สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีสำหรับการประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 15  สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตรร่วมกับ 7 สมาคมด้านอารักขาพืชจัดขึ้นเร็ว ๆ นี้ ภายใต้ธีม ”เกษตรยุคใหม่ ทันสมัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม”  โดยนายจารึก ศรีพุทธชาติ นายกสมาคมคนไทยธุรกิจเกษตรกล่าวถึงผลสำเร็จการประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติครั้งนี้ว่าจะนำผลงานการวิจัยด้านกีฏและสัตววิทยา โรคพืชวิทยา วิทยาการด้านวัชพืช วิศวกรรมเกษตรและเทคโนโลยีหลังเก็บเกี่ยว

บทสรุปงานประชุมวิชาการ \"อารักขาพืชแห่งชาติ\" มุ่งต่อยอดงานวิจัย

ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตสินค้าเกษตรในการนำความรู้ไปปรับใช้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาการผลิตพืช ทั้งพืชอาหารและพืชพลังงานให้มีประสิทธิภาพหรือใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการทำวิจัยขั้นต่อไป  ตลอดจนการนำไปสู่การเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพงานวิจัยในด้านอารักขาพืชต่อไปอีกด้วย

นางนงนุช ยกย่องสกุล รักษาการผู้อำนวยการบริหาร สมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้เผยว่าในส่วนของสมาคมนวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย ได้ตระหนักถึง Sustainable Pesticide Management Framework (SPMF) ซึ่งเป็นกรอบการทำงานที่อยู่ภายใต้ AIM for Climate (Agricultural Innovation Mission for Climate) ที่ส่งเสริมนวัตกรรมการเกษตรและอาหารเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและความมั่นคงด้านอาหาร

 

โดยได้รับการสนับสนุนจากครอปไลฟ์อินเตอร์เนชั่นนัล ผ่านโครงการเกษตรแม่นยำ (calDrone Tool), ปลูกพืชลดโลกร้อน (Carbon Credit), การจัดการภาชนะบรรจุภัณฑ์ (Extended Producer Responsibility; EPR), ศูนย์พิษวิทยา (eCare) และ Digital GAP 

บทสรุปงานประชุมวิชาการ \"อารักขาพืชแห่งชาติ\" มุ่งต่อยอดงานวิจัย

นายพันกัส ชามา หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ภาคสนามบูรณาการ (IFS) บริษัท คอร์เทวา อะกริไซเอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในหัวข้อ เคมีกรีนและเทคโนโลยีลดความเสี่ยงในการใช้สารอารักขาพืช โดยระบุว่า การใช้เคมีกรีนจะเป็นหนึ่งในคำตอบสำหรับปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงโดยการใช้สารฯ ในปริมาณที่น้อยลง ลดความเป็นพิษ รวมไปถึงระหว่างขั้นตอนการผลิตสารฯ ที่ปลดปล่อยพิษทำลายสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด

ยกตัวอย่างเช่น Rinskor™ active เป็นสารกำจัดวัชพืชที่ใช้น้อยกว่าสารกำจัดวัชพืชทั่วไปถึง 150 เท่า ลดความเสื่อมโทรมของดิน ไม่เป็นพิษต่อสัตว์เช่น ผึ้ง วัวและปลาเป็นต้น อีกทั้งสารนี้สามารถสะลายได้รวดเร็ว เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งเหมาะแก่การใช้ในผักและมะเขือเทศ เป็นสารที่เหมาะแก่การใช้จัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานและการใช้สารกำจัดแมลงและไรศัตรูพืชเพื่อแก้ไขปัญหาความต้านทานศัตรูพืช เป็นต้น

 

“นวัตกรรมไม่ใช่คำตอบของทุกอย่างหากปราศจากการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ตัวอย่างการทดลองและการขึ้นทะเบียนใช้เวลาน้อยลงสำหรับบางประเทศเช่น อเมริกาเหลือเพียง 1 เดือนจากปรกติหลายปี เช่นเดียวกับประเทศอินเดียหรือบราซิล ถ้าหากสารเคมีนั้นเป็นสารเคมีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (เคมีกรีน) เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดินและสุขภาพผู้ใช้และผู้บริโภค” นายพันกัสกล่าว

 

ดร.ทานายา รานจาน หัวหน้าทีมวิจัย R&D Head , UPL ASEAN Region เผยว่า ในปัจจุบันประชากรโลกกว่า 828 ล้านคนยังขาดสารอาหารที่จำเป็นสำหรับร่างกาย ไม่ว่าจะเกิดจากโควิด19 ความยากจน ความไม่เท่าเทียมเป็นต้น อย่างไรก็ตามจะก้าวผ่านปัญหาเหล่านี้ได้ต้องมีหลายองค์ประกอบแต่โดยหลักแล้วมาจากการวิจัยและพัฒนาทางด้านการเกษตรโดยนำผลงานวิจัยนั้นมาปรับใช้ในพื้นที่จริง เพื่อสร้างระบบนิเวศอาหารอย่างยั่งยืน

บทสรุปงานประชุมวิชาการ \"อารักขาพืชแห่งชาติ\" มุ่งต่อยอดงานวิจัย

และที่ขาดไม่ได้คือการส่งเสริมและเผยแพร่ผ่านความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชนและสมาคมต่าง ๆ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในภาคเกษตร ทาง UPL นำเทคโนโลยี PaddyXPR (paddyxpr.upl-ltd.com) และ Lidar Geo mapping ที่สามารถรู้ถึงข้อมูลความแข็งแรงของพืชในแปลงและจุดที่ต้องการธาตุอาหารเพิ่มเติม ควบคู่กับการนำองค์ข้อมูลเหล่านี้ไปเผยแพร่ผ่านศูนย์เรียนรู้รวมถึงการใช้งาน ผ่านความร่วมมือจากองค์กรต่าง ๆ เช่น การพัฒนากล้วยในประเทศฟิลิปปินส์ ข้าวและข้าวโพดในประเทศไทยและเวียดนาม เป็นต้น 

 

นายธีรพงษ์ เหล่าพงศ์พิชญ์  ผู้อำนวยการกลุ่มงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกล่าวตอนหนึ่งในการเสวนาหัวข้อ“ทิศทางและนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคเกษตรของไทย ”ว่าปัจจุบันอุณหภูมิของโลกได้เพิ่มขึ้น 1.1-1.2 องศาส่งผลให้สภาพภูมิอากาศมีความไม่แน่นอนมากขึ้น  เกิดความเสี่ยงในการทำงานและส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนในประเทศไทยมีความแปรปรวน อย่างเช่นปริมาณฝนตกในที่เดิมมากขึ้น  เกิดการกระจายตัวของภัยแล้ง  สิ่งเหล่านี้เป็นผลมาจากอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น

 

“อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นย่อมมีผลกระทบในภาคการเกษตรเช่นกันอาจทำให้ฤดูการเพาะปลูกเปลี่ยนแปลง มีภัยแล้ง มีน้ำท่วม มีโรคระบาดเกิดขึ้น สาเหตุสำคัญมาจากการปลดปล่อยเรือนกระจก ฉะนั้นทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก” นายธีรพงษ์เผย

 

นางสาวสุมน สุเมธเชิงปรัชญา ผู้อำนวยการสำนักผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนวิชาการและนโยบายสาธารณะ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์การมหาชน)กล่าวเสริมว่า ตั้งเป้าในอีก 10 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 40 %  ผนวกกับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านงบประมาณ เทคโนโลยีหรืออื่น ๆ ส่วนวิธีการลดจะมุ่งเป้าไปที่ก๊าซมีเทน ที่มาจากการหมักซากพืชซากสัตว์ หรือการปลูกข้าว โดยเฉพาะการขังน้ำในนาข้าวทำให้เกิดก๊าซมีเทนขึ้นมา สนับสนุนให้เกษตรกรใช้วิธีการปลูกนาแบบเปียกสลับแห้ง รวมถึงการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินเป็นต้น

 

นี่เป็นส่วนหนึ่งของบทสรุปการประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 15 ก่อนส่งไม้ต่อให้สมาคมกีฏและสัตววิทยาแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานครั้งต่อไปในอีก 2 ปีข้างหน้า

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง