ชีวิตดีสังคมดี

บัตรแมงมุม สู่ บัตร EMV ลุ้นระบบ 'ตั๋วร่วม' ผ่านในรัฐบาลใหม่เดินทางสะดวกขึ้น

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

จาก บัตรแมงมุม สู่ บัตร EMV ลุ้นระบบ 'ตั๋วร่วม' ผ่านในรัฐบาลใหม่ ประชาชนใช้ขนส่งสาธารณะสะดวก จ่ายค่าแรกเข้าน้อยลง ประหยัดค่าเดินทางมากขึ้น

เกือบ 10 ปีที่แล้วเราเคยได้ยินคำว่า "ตั๋วร่วม" บัตรแมงมุม บัตรใบเดียวที่จะทำให้เราเดินทางและใช้บริการรถขนส่งสาธารณะแบบไม่พกพาบัตรหลายใบ และประหยัดค่าแรกเข้า แต่ผ่านไปแล้วเกือบ 10 ปี เรายังไม่ได้แม้แต่จะทดลองใช้ระบบ ตั๋วร่วม และบัตรแมงมุม ที่่ว่าก็ถูกยกเลิกไป 

 

 

ระหว่างทางในการจัดทำระบบ "ตั๋วร่วม" จากบัตรแมงมุม กลายมาเป็นบัตรรูป แบบ EMV ได้อย่างไร เกิดอะไรขึ้นบ้าง ทำไมพ.ร.บ.ถึงยังค้างอยู่ในสภาทั้งที่มีการศึกษาระบบดังกล่าวมานานหลายปีแล้ว ท้ายที่สุดประชาชนจะได้เดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้าที่ราคาสมเหตุสมผลหรือไม่ 

1. ระบบตั๋วร่วม คืออะไร

"ตั๋วร่วม" หรือ Common Ticketing System เป็นระบบที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) โดยเป็นการศึกษาเพื่อนำเอาระบบมาใช้สำหรับการเดินทางของประชาชนให้สามารถเชื่อมต่อได้ทุกระบบด้วยการใช้บัตรโดยสารเพียงใบเดียว แต่สามารถใช้ระบบขนส่งสาธารณะให้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นรถไฟ รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้าสายสีต่างๆ รถโดยสารสาธารณะ เรือโดยสาร และทางพิเศษระหว่างเมือง  ส่วนระบบบริหารจัดการรายได้จะดำเนินการการด้วยระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลางหรือระบบ Central Clearing House:CCH เพื่อเป็นระบบในการเคลียร์รายได้ให้กับแต่ละบริษัท  โดยที่ผ่านม สนข.ตั้งใจจะให้เอกชนติดตั้งระบบดังกล่าวเพื่อรองรับ "ตั๋วร่วม" ได้ทันที  ทั้งนี้ได้มีการกำหนดบัตรโดยสารที่ชื่อว่า บัตรแมงมุม สำหรับเป็นบัตรที่จะใช้ระบบตั๋วร่วม 
 

2.ตั๋วร่วมยังใช้ไม่ได้ บัตรแมงมุมถูกยกเลิกเป็น บัตร EMV แทน 

แม้จะมีการเตรียมการพัฒนาระบบและกฎหมาย มาอย่างต่อเรื่องแต่ดูเหมือนว่าขณะนี้ระบบตั๋วร่วมยังไม่มีความคืบหน้า และบัตรแมงมุม ที่ สนข. กำหนดให้เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้จ่ายค่าเดินทางได้ทุกระบบลับถูกยกเลิกไปแล้ว เพราะปัจจุบันระบบรถไฟฟ้าโดยเพฉพาะรถไฟฟ้าใต้ดินหันมาให้จ่ายค่าโดยสารผ่าน  บัตร EMV สมาร์ทการ์ด หรือ วีซ่าการ์ดได้ เท่ากับว่าหากเรามี บัตร EMV ในมือเราก็สามารถจ่ายค่าบริการรถจนส่งสาธารณะได้ทุกเส้นทาง แต่ผู้ใช้บริการจะต้องปรับเปลี่ยนหัวอ่านทางเข้า-ออกประตูก่อน จึงสามารถดำเนินการซึ่งรูปแบบการจ่ายผ่าน บัตร EMV เริ่มใช้ตั้งแต่ช่วง 3-4 ปีย้อนหลัง และสามารถได้กับระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน และรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเท่านั้น นั้นเท่ากับว่ายังไง ระบบตั๋วร่วม ก็ยังไม่สมบูรณ์แบบอยู่ดี 

 

 

3.ร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ...  ความหวังได้ใช้บัตรใบเดียวจ่ายเงินทุกระบบ 

แม้ว่าบัตรแมงมุมจะไม่ได้ใช้งานแล้ว แต่ระบบ "ตั๋วร่วม" ยังอยู่  โดยล่าสุด สนข. ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ...เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีชุดเดิม (ครม.) ซึ่งผ่านความเห็นไปชอบแล้ว และเข้าสู่การพิจารณาของสภาวาระ 1 เป็นที่เรียบร้อย แต่ยังเหลือวาระ 2 และ 3 ที่พิจารณาไม่ทันเนื่องจากมีการยุบสภาเสียก่อน  ดังนั้นจึงต้องมาจับตาว่า รับบาลชุดใหม่จะหยิบร่างพ.ร.บ.ตั๋วร่วมฯ กับมาพิจารณาต่อเลยหรือไม่ หรือหน่วยงานที่ดูและจะต้องกลับไปทบทวนแก้ไข รายละเอียดใหม่และ กลับมาเสนอครม. อีกครั้ง 

 

 

4.ข้อดีของการใช้ระบบตั๋วร่วม 

หาก พ.ร.บ.ตั๋วร่วมฯ มีผลบังคับใช้จะทำให้มีกฎหมายเข้ามาบริหารจัดการ "ตั๋วร่วม" ได้ทั้งระบบ ในทุกการขนส่งทั้งทางบก น้ำ อากาศ และระบบราง รวมทั้งเป็นการสนับสนุนการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มใช้ได้กับรถไฟฟ้า เมื่อผู้โดยสารมีการเชื่อมต่อระบบจะไม่เสียค่าแรกเข้า รวมทั้งประชาชนยังสามารถใช้จ่ายเงินในการซื้อสินค้าได้ด้วย 

 

 

5.เปิดปัจจัยทำระบบ "ตั๋วร่วม" ล่าช้า 

สาเหตุที่การใช้ระบบตั๋วร่วมมีความล่าช้า เนื่องจากโครงการฯนี้เป็นการให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมตามความสมัครใจ ซึ่งทำให้ค่อนข้างยาก เพราะมีเรื่องของพ.ร.บ. ซึ่งเป็นกฎหมายภาคบังคับที่เข้ามาร่วมด้วย ทั้งนี้ในร่างพ.ร.บ.มีการระบุให้จัดตั้งกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม ซึ่งสนข.จะต้องจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมระบบ "ตั๋วร่วม" และรูปแบบการตั้งสำนักงานฯ ตามที่ระบุไว้ในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว เพื่อออกกฎหมายลูกมารองรับด้วย โดยการจัดตั้งกองทุนฯ กองทุนดังกล่าวจะเข้ามาสนับสนุนรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการรถไฟฟ้าที่มีรายได้ลดลงเฉลี่ยรวมปีละ 1,300 - 1,500 ล้านบาท

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ