ชีวิตดีสังคมดี

เส้นทาง 'อุโมงค์ทางด่วน n1' ลึกที่สุดในประเทศ ผ่านจุดไหน เริ่มขุดเมื่อไหร่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ส่องเส้นทาง 'อุโมงค์ทางด่วน n1' ทางด่วนลอดใต้ถนนแห่งแรกที่ลึกที่สุดในประเทศไทย เช็กแนวทางเส้นทางผ่านจุดใดบ้าง เริ่มขุดเมื่อไหร่

จากสภาพปัญหาการจราจรติดขัดบนโครงข่ายถนนหลักในพื้นที่กรุงเทพมหานครตามแนวตะวันออก-ตะวันตก ได้แก่ ถนนงามวงศ์วาน ถนนประเสริฐมนูกิจ และโครงข่ายถนนโดย รอบ เนื่องจากมีปริมาณจราจรเต็มความจุของถนนที่สามารถรองรับได้ คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 1 ก.พ. ปี 2565 จึงได้มีมติเห็นชอบให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ดำเนินโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 เชื่อมต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันออก และส่วนทดแทนตอน N1 หรือ "อุโมงค์ทางด่วน n1" เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจรและพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษที่เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออก และตะวันตกของ กรุงเทพมหานคร โดยให้ กทพ. พิจารณาความเหมาะสมของรูปแบบและแนวเส้นทาง 

 

ภาพจากที่ประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 (สรุปผลการคัดเลือกแนวสายทาง)

โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ส่วนทดแทนตอน n1 ให้มีความชัดเจน โดยคำนึงถึงความเหมาะสมทางวิศวกรรม ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ระยะเวลาดำเนินการ ความยากง่ายในการดำเนินการ ผลกระทบกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม และให้ กทพ. พิจารณาแนวทางหรือมาตรการเพื่อลดผลกระทบด้านการจราจรบริเวณแยกเกษตร ที่มีข้อจำกัดทางด้านกายภาพในปัจจุบัน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจรดังกล่าว และเป็นการพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษที่เชื่อมโยงการเดินทาง ระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพมหานครให้ครอบคลุ ม และมีประสิทธิภาพ

 

 

ภาพจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
 

สำหรับโครงการ  "อุโมงค์ทางด่วน n1" จะสรุปการศึกษาและรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เดือน พ.ค. 2567 จากนั้นเป็นขั้นตอนการเสนอ ครม.และขออนุมัติรายงาน EIA คาดใช้เวลาประมาณ 1.5-2 ปี คาดประมูลในปี 2569 เริ่มก่อสร้างปี 2570 ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี เปิดบริการปี 2575 โดยคาดการณ์ปริมาณจราจรปีเปิดบริการที่ 70,000 คัน/วัน ขณะที่สายทางมีความจุประมาณ 140,000 คัน/วัน

 

 

ภาพจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

 

 

ภายใน "อุโมงค์ทางด่วน n1" มีลักษณะเป็นอุโมงค์ใต้ดิน 2 ชั้น เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร ซ้อนกันอยู่ ระดับความลึกที่สุดอยู่ที่ประมาณ 44 เมตรจากผิวดิน และมีจุดระบายอากาศ จุดอพยพ 4 จุด  แนวสายทาง "อุโมงค์ทางด่วน n1"

 

 

จุดเริ่มต้นเชื่อมจากทางพิเศษศรีรัชไปตามแนวถนนงามวงศ์วานในลักษณะของอุโมงค์ใต้ดิน ผ่านแยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตร คลองบางบัว และแยกลาดปลาเค้า แล้วยกระดับเพื่อเชื่อมต่อกับโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N2 บริเวณใกล้แยกสุคนธสวัสดิ์ ระยะทางรวมประมาณ  ระยะทาง 6.70 กม. โดยแนวเส้นทางดังกล่าวเป้นแนวเส้นทางที่ผ่านการรับฟังความเห็นมาแล้ว ซึ่ง กทพ.ได้ดำเนินการไปเมื่อปี 2566 

 

 

อย่างไรก็ตาม กทพ. ได้วางแผนการดำเนินงานโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ เป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน n2 ถนนประเสริฐมนูกิจ ถึงถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก และระยะที่ 2 ระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ส่วนทดแทนตอน N1 สำหรับการดำเนินงานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ส่วนทดแทนตอน n1 เป็นงานในระยะที่ 2 โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาให้ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรและพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษที่เชื่อมโยงการเดินทาง

 

 

ระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพมหานครให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพอีกทั้งยังรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเติบโตของเมืองในอนาคตได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ให้พิจารณาถึงความเหมาะสมของรูปแบบและแนวเส้นทางของโครงการให้มีความชัดเจน ซึ่งจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมทั้งทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจการเงิน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน

 

 

 

ที่มาข้อมูลและรูปภาพ :  โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ส่วนทดแทนตอน N1 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

logoline