ข่าว

พิษณุโลก ผันน้ำเข้า"ทุ่งบางระกำโมเดล" 50 ล้านลบ.ม.

ผันน้ำเข้าทุ่งบางระกำโมเดล 50 ล้านลบ.ม. เตรียมรับมวลน้ำจากสุโขทัย คาดหลังจากนี้อีก 1 เดือน น้ำจะเต็มทุ่ง ชาวบ้านเริ่มทยอยเก็บของขึ้นที่สูง

27 ส.ค. 2567 สถานการณ์น้ำยมหลากในเขตภาคเหนือตอนล่าง กำลังหนักที่จังหวัดสุโขทัย น้ำไหลสูงสุดผ่านอำเภอศรีสัชนาลัยในวันนี้ และน้ำส่วนหนึ่งกำลังไหลเข้ามาในเขตแม่น้ำยมสายเก่าของจังหวัดพิษณุโลก โดยวันนี้ที่บ้านวังขี้เหล็กหมู่ 10 ตำบลท่าช้าง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ชลประทานได้เปิดการระบายน้ำจากท่อระบายน้ำคลองแยงมุม เข้าทุ่งบางระกำซึ่งเป็นทุ่งนาที่เก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว

พิษณุโลก ผันน้ำเข้า\"ทุ่งบางระกำโมเดล\" 50 ล้านลบ.ม.

รับน้ำจากคลองเมม หรือ แม่น้ำยมสายเก่าไปเก็บไว้ในทุ่งนา และนับจากนี้ไปอีก 1 เดือนบริเวณนี้จะเต็มไปด้วยพื้นน้ำ ขณะที่ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณริมคลองเมมที่เป็นที่ต่ำได้เริ่มทยอยเก็บสิ่งของขึ้นมาไว้อยู่ริมถนน บริเวณบ้านวังขี้เหล็กแล้ว ชาวบ้านวังขี้เหล็ก ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม กล่าวว่า น้ำจากจังหวัดสุโขทัย ได้เริ่มเข้ามาในพื้นที่ อ.พรหมพิราม ประมาณ 2 วันแล้วและได้เริ่มปล่อยน้ำเข้าทุ่งบางระกำโมเดล ช่วงเย็นวานที่ผ่านมา ทำให้กับชาวบ้านที่อยู่อาศัยริมแม่น้ำยมได้รับผลกระทบที่จะต้องขนของมาอาศัยอยู่ที่สูง เป็นการชั่วคราว

 

ด้านนายชำนาญ ชูเที่ยง ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพิษณุโลกเปิดเผยว่า สถานการณ์แม่น้ำยม วันที่ 27 ส.ค.67 เวลา 07.00 น. ที่สถานีวัดน้ำ Y.14 A อ.ศรีสัชนาลัย จ.สฺโขทัย มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,701 ลบ.ม/วินาที ( เข้าสู่สถานการณ์แนวโน้มอุทกภัยในระดับวิกฤต คือ มากกว่า 1,200 ลบ.ม./วินาที ขึ้นไป) ปริมาณน้ำยังไม่ไหลผ่านสูงสุด และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

พิษณุโลก ผันน้ำเข้า\"ทุ่งบางระกำโมเดล\" 50 ล้านลบ.ม.

โดยมีการระบายน้ำเข้าสู่คลองหกบาท (คลองแม่น้ำยมฝั่งขวา) ในปริมาณ 480 ลบ.ม/วินาที โดยแบ่งการะบายน้ำไปทางคลองผันน้ำแม่น้ำยม-แม่น้ำน่าน ปริมาณ 220 ลบ.ม/วินาที และระบายลงสู่ แม่น้ำยมสายเก่า มาทาง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ในปริมาณ 260 ลบ.ม/วินาที ซึ่งภาพรวมแล้ว มีน้ำจากจังหวัดสุโขทัย เข้ามาในพื้นที่ จ.พิษณุโลก แล้ว กว่า 150-200 ล้าน ลบ.ม.

พิษณุโลก ผันน้ำเข้า\"ทุ่งบางระกำโมเดล\" 50 ล้านลบ.ม.

ทางชลประทานได้เร่งผันน้ำไปทางคลอง DR2.8 ได้ผันน้ำ ลงสู่แม่น้ำน่าน ทำให้มีน้ำในแม่น้ำยม และระบายเข้าสู่ทุ่งบางระกำโมเดล มีมวลน้ำแล้วเกือบ 50 ล้าน ลบ.ม. หรือ ประมาณ 20% แล้ว ขณะที่ปริมาณน้ำที่ผันมาเพิ่มขึ้นในแม่น้ำยมสายเก่า ส่งผลให้มีความเสี่ยง การเกิดอุทกภัย น้ำเอ่อล้นตลิ่ง และน้ำไหลหลาก น้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ ที่อยู่ติดกับแม่น้ำยมสายหลัก และแม่น้ำยมสายเก่า ในเขต พื้นที่ อ.พรหมพิราม ได้แก่ ต.วังวน, ต.ตลุกเทียม, ต.ศรีภิรมย์, ต.พรหมพิราม, ต.หนองแขม และ ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม อ.เมือง ได้แก่ ต.บ้านกร่าง อ.บางระกำ ได้แก่ ต.บางระกำ, ต.คุยม่วง, ต.ชุมแสงสงคราม, ต.ท่านางงาม, ต.วังอิทก, ต.ปลักแรด อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก

 

ปัจจุบันได้เร่งการระบายน้ำสูงสุด ของอาคารชลประทาน ในแม่น้ำยมสายหลัก และแม่น้ำยมสายเก่า และเร่งเสริมคันคลองป้องกันน้ำเอ่อล้นตลิ่ง รวมถึงเริ่มรับน้ำเข้าทุ่งบางระกำ เพื่อรองรับสถานการณ์แม่น้ำยม ที่วิกฤตเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง แจ้งเตือน ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เฝ้าระวังดังกล่าวโดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ใกล้กับตลิ่งแม่น้ำ ให้ติดตามสถานการณ์ พร้อมเฝ้าระวัง และเตรียมความพร้อมในการขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง และระมัดระวังไฟฟ้าที่อยู่ในที่ต่ำน้ำท่วมถึง

สำหรับ “โครงการบางระกำโมเดล” เป็นโครงการปรับปฏิทินการเพาะปลูกในพื้นที่ลุ่มต่ำในเขตชลประทาน เพื่อใช้เป็นพื้นที่รองรับน้ำหลากและหน่วงน้ำ พื้นที่โครงการ 265,000 ไร่ ในเขต อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ อ.เมือง และ อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก และ อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย โดยเริ่มทำการเพาะปลูกข้าวนาปีก่อนฤดูกาลปกติ มาเริ่มเพาะปลูกตั่งแต่ 1 เมษายน และเก็บเกี่ยวก่อน ฤดูน้ำหลาก ไม่เกิน 15 สิงหาคม หลังจากนั้นจะงดทำการเพาะปลูกเพื่อเป็นพื้นที่รองรับน้ำ เป็นทุ่งหน่วงน้ำให้กับลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ลดผลกระทบอุทกภัย สามารถหน่วงน้ำได้สูงสุด 400 ล้าน ลบ.ม. ตั้งแต่ 15 ส.ค.-30 พ.ย.และเริ่มทำการเพาะปลูกข้าวนาปรังรอบใหม่ ตั้งแต่ 1 ธ.ค. เป็นต้นไป

ข่าวยอดนิยม