ข่าว

ปลาหมอคางดำ โผล่บึงมักกะสัน ชาวบ้านแห่จับ เอาไปทำเมนูเด็ดเย็นนี้

ปลาหมอคางดำ-ปลานิล นับล้านตัว ลอยเหนือผิวน้ำ บึงมักกะสัน ชาวบ้านแห่จับ ชั่วโมงเดียว ได้ 100 กก.

15 ก.ค. 2567 เมื่อเวลาประมาณ 15.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีประชาชนจำนวนมาก นำอุปกรณ์จับปลา อาทิ สวิง, ตะกร้า, ฝาครอบพัดลม, แห-อวน และถุงกระสอบ มาเพื่อจับปลาหมอคางดำ-ปลานิล ที่ลอยอยู่ในบึงมักกะสัน ถนนจตุรทิศ แขวงและเขตดินแดง กทม. หลังพบว่า มีปลาลอยขึ้นมาบนผิวน้ำนับล้านตัว

ปลาหมอคางดำ โผล่บึงมักกะสัน ชาวบ้านแห่จับ เอาไปทำเมนูเด็ดเย็นนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปลาที่พบส่วนใหญ่มีทั้งปลานิล และปลาหมอคางดำ ซึ่งมีหลายขนาดตั้งแต่ตัวเล็กน้ำหนักประมาณ 2-8 ขีด โดยชาวบ้านบางรายได้นำปลาใส่กะละมัง รวมหนักกว่า 30 กิโลกรัม

จากการสอบถามหนึ่งในชาวบ้านที่มาจับปลา เปิดเผยว่า ตนได้รับทราบจากการดูไลฟ์สดในแอปฯ ติ๊กต็อก จากนั้นจึงนำฝาผัดลม พร้อมกับกะละมังมาจับปลา โดยใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง ได้ปลากว่า 30 กิโลฯ

ชาวบ้านอีกราย บอกว่า อยู่จุดนี้มาเกือบ 30 ปี เพิ่งเคยเห็นปลาจำนวนมากขนาดนี้ แวบแรกที่เห็นปลา ก็อยากจับไปกิน เพราะว่ามันทำลายระบบนิเวศ ถ้ามันกินได้เราก็กิน และอยากรู้ว่าอร่อยหรือไม่ ส่วนปลาจำนวน 100 กก. ที่จับได้จะนำไปกิน บางส่วนอาจจะนำไปขายด้วย 

ปลาหมอคางดำ โผล่บึงมักกะสัน ชาวบ้านแห่จับ เอาไปทำเมนูเด็ดเย็นนี้
ปลาหมอคางดำ โผล่บึงมักกะสัน ชาวบ้านแห่จับ เอาไปทำเมนูเด็ดเย็นนี้

ผอ.เขตราชเทวี เผยสาเหตุ ปลาลอยเกลื่อนบึงมักกะสัน

 

นายกรณิศ บัวจันทร์ ผู้อำนวยการเขตราชเทวี กล่าวว่า ปลาส่วนใหญ่ที่เห็นเป็นปลานิล มีบางส่วนเป็นปลาหมอคางดำที่เรากังวลใจกันอยู่ ส่วนสาเหตุที่เกิดขึ้น จากการสอบถามสำนักระบายน้ำ เป็นเพราะเร่งลดน้ำเพื่อรองรับฝน ป้องกันปัญหาน้ำท่วม เมื่อน้ำลดลงจำนวนมากก็เกิดภาวะการเปลี่ยนแปลงทำให้ปลาน็อกน้ำจึงเกิดปัญหานี้ขึ้นมา ซึ่งลดระดับน้ำต่อเนื่องมาหลายวันแล้ว และเป็นที่รับรู้ว่าพื้นที่นี้มีปลาหมอคางดำอยู่บางส่วน

หลังจากนี้จะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยดูแล ทั้งกรมประมง การรถไฟสำนักงานเขตราชเทวี และสำนักการระบายน้ำ ซึ่งคนส่วนใหญ่จะจับปลาเป็น ส่วนปลาที่ตายแล้วทางเขตจะให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความสะอาดมาช่วยเก็บปลาที่ตายออกไปก่อน

ส่วนบึงมักกะสันจะมีคูคลองใกล้เคียง อย่างเช่น คลองสามเสน ระบายน้ำลงบึงมักกะสัน ส่งต่อไปท่อระบายน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีขั้นตอนการระบายน้ำอยู่ พอน้ำลดไปเยอะจึงเกิดประเด็นเป็นปัญหานี้ขึ้นมา แต่น้ำตรงนี้จะไม่ระบายเข้าเมือง จะไประบายออกทางคลองแสนแสบ และมีประตูระบายน้ำระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

สำหรับคูคลองจุดอื่นเท่าที่ได้รับรายงานตอนนี้ยังไม่มีเหตุการณ์แบบนี้ แต่ก่อนหน้านี้มีพื้นที่ฝั่งธนบุรี แต่ฝั่งพระนคร จุดนี้ถือว่าเป็นจุดแรกที่เจอ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่จะได้ช่วยกันดูแลและช่วยกันกำจัด ซึ่งเป็นนโยบายของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่กำชับให้ดูแลเรื่องนี้อยู่แล้ว

ส่วนการควบคุมประชาชนที่มาจับปลา นายกรณิศ ยอมรับว่าควบคุมยาก แต่ได้คุยกับเจ้าหน้าที่ว่าหากเป็นปลานิลจะจับไปปล่อยในจุดอื่น แต่ถ้าเป็นปลาหมอคางดำ ต้องดูอีกทีว่าจับแล้วนำไปทำลายเลยหรือไม่

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวยอดนิยม