ข่าว

สตั๊ดออนไลน์ บายไลน์ พันโชค ธัญญเจริญ [email protected]

สมัยเรียนสื่อสารมวลชน มีศัพท์คำหนึ่งที่ว่า "โอเวอร์คอมมูนิเคชั่น" หรือภาวะที่มีการสื่อสารมากเกินไป เนื่องจากการรับสารที่มากเกินไป ทำให้ประสิทธิภาพในการกลั่นกรอง สารอันใดอันหนึ่งน้อยลง และในยุค "โซเชียล เน็ตเวิร์ก" คนเราดูจะมีอะไรทำกันได้ตลอดเวลา อยู่นิ

เห็นได้ชัดจากการเลือกนักฟุตบอลทีมชาติของหลายชาติ ที่เป็นชาติมหาอำนาจบน "ทุ่งหญ้าแห่งความฝัน" เพราะการสื่อสารในสมัยใหม่ทำให้ชีวิตของใครหลายคน ห่างไกลจากคำว่า "ส่วนตัว" และปัจจัยที่เลือกนักฟุตบอลทีมชาติหลายครั้ง ไม่ได้ตั้งมั่นอยู่บนมาตรฐานการเล่นบนทุ่งหญ้าระยะไม่เกิน 150 หลา เพียงอย่างเดียว
 ทั้งที่ในยุคก่อนหน้านี้ นักฟุตบอลบางคนแม้จะรับใช้ทีมชาติขึ้นหลักหลายสิบนัด แต่ก็ไม่ได้ติดต่อสื่อสารกับใคร (ยกเว้นเพื่อนร่วมทีมและโค้ช) ทั้งที่เขาก็อาศัยอยู่บนทุ่งหญ้าผืนเดียวกับนักฟุตบอลสมัยใหม่ตลอดชั่วชีวิตของเขา
 บางคนก็เลือกมีชีวิตส่วนตัว และเดินทางเพื่อหนีชีวิต "ซูเปอร์สตาร์" อาทิ แบรนด์ ชูสเตอร์ เด็กรุ่นใหม่จะไม่มีทางรู้เลยว่า เขาเคยเป็น มิดฟิลด์ตัวกลาง อัจฉริยะคนหนึ่งของ เยอรมันตะวันตก ชุดแชมป์ยุโรป 1980 เรื่องราวของเขาได้รับการบอกเล่าย้อนหลังจากถ้อยคำในหนังสือเก่า แต่ตัดสินใจหันหลังให้ "อินทรีเหล็ก" เพราะต้องการจะอยู่กับ กาบี ภรรยา


 ทว่าหากเป็นยุค โซเชียล เน็ตเวิร์ก การสื่อสารที่ต้องเคยใช้เวลาเนิ่นนานจะถูกย่นย่อเหลือเพียงชั่วไม่กี่วินาที และปริมาณที่ผู้คนอยากบอกเล่าก็มากมายตามไปด้วย ดังนั้นหากมีนักฟุตบอลคนใดใช้วิธีเดียวกับ ชูสเตอร์ ในวันนี้ แม้จะเลิกเล่นทีมชาติไปแล้ว ก็ยังไม่อาจได้ชีวิตส่วนตัวคืนมา
 ดังนั้นการสื่อสารยุค โซเชียล เน็ตเวิร์ก อาจจะสะดวก รวดเร็ว แต่จะมีผลกับ "คุณค่า" ในความรู้สึก เท่ากับ จดหมาย คำบอกเล่า หรือไม่
 แต่ในแง่ของการสื่อสาร สิ่งพิมพ์ออนไลน์ จะทำให้โลกยุคใหม่ขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างคุ้มค่าทรัพยากรมากขึ้น เพราะราคาค่างวดของมันถูกลง ส่วน "หนังสือ" ที่ทำจากกระดาษเปื้อนหมึก อาจจะมีราคาสูงขึ้นเพราะกลายเป็นของสะสม เหมือนกับ เทปคาสเซตสมัยนี้
 หากมันเป็นการเปลี่ยนแปลงของโลกและยุคสมัย นักฟุตบอลอาชีพที่ยังไม่แก่เกินกว่าจะวิ่งเล่นบนทุ่งหญ้า ก็ต้องวิ่งตามเวลาให้ทัน ทุกคนต้องแข่งกับคนอื่น ไม่ว่าจะสวมสตั๊ดหรือถอดมันออกไปแล้วก็ตาม

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวยอดนิยม