ไลฟ์สไตล์

รู้จัก "เอเลี่ยนสปีชีส์" สัตว์ต่างถิ่นที่ทำให้ระบบนิเวศสั่นสะเทือน

จากกรณีที่ "ปลาหมอคางดำ" เอเลี่ยนสปีชีส์ แพร่ระบาดอย่างหนักในไทย กระทบระบบนิเวศ สัตว์ประจำถิ่น มาทำความรู้จักอะไรคือ "เอเลี่ยนสปีชีส์" สายพันธุ์สัตว์อันตรายจากต่างแดน

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ "ปลาหมอคางดำ" เอเลี่ยนสปีชีส์ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบแอฟริกา ซึ่งเป็นสัตว์เอเลี่ยนสปีชีส์หรือสัตว์ที่มาจากต่างถิ่น แพร่ขยายกระจายพันธุ์อย่างรวดเร็ว จนส่งผลกระทบกับสัตว์ประจำถิ่น มาทำความรู้จักสัตว์ “เอเลี่ยนสปีชีส์” (Alien Species)  ถือเป็นสาเหตุอันดับ 1 ที่ทำให้เกิดความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศ

 

รู้จัก \"เอเลี่ยนสปีชีส์\" สัตว์ต่างถิ่นที่ทำให้ระบบนิเวศสั่นสะเทือน

 

ในปัจจุบันมี “เอเลี่ยนสปีชีส์” ระบาดอยู่ในไทยหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น นกยูงอินเดียที่พบในป่าห้วยขาแข้งหรือ อีกัวน่าเขียวที่พบในจังหวัดลพบุรี  สัตว์เหล่านี้ล้วนเป็นสัตว์ต่างถิ่นที่หากอยู่รอดในระบบนิเวศนั้นๆ ได้ จะกลายเป็นการรุกรานที่ส่งผลกระทบวงกว้างต่อระบบนิเวศ

 

รู้จัก \"เอเลี่ยนสปีชีส์\" สัตว์ต่างถิ่นที่ทำให้ระบบนิเวศสั่นสะเทือน

เอเลี่ยนสปีชีส์ (Alien Species) คือ สิ่งมีชีวิตต่างถิ่น ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิด ชนิดพันธุ์อยู่ในประเทศไทย อาจนำเข้ามาด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ไม่ว่าจะเพื่อการเกษตร การเพาะเลี้ยง หรือเป็นสัตว์เลี้ยงในทางด้านเศรษฐกิจ แต่หากเอเลี่ยนสปีชีส์เหล่านี้อยู่ผิดที่ผิดทางย่อมส่งผลกระทบมากกว่าสร้างประโยชน์

 

เอเลี่ยนสปีชีส์ มีกี่ประเภท

ประเภทที่ไม่รุกราน เป็นประเภทที่ไม่ได้ตั้งใจเข้ามาขัดขวางระบบนิเทศหรือมีผลต่อระบบนิเวศโดยตรงเป็นสายพันธุ์ที่อยู่แบบไม่แข่งขันหรือขัดขวางการอยู่อาศัยของสิ่งมีชิวิตชนิดอื่น เช่น ปลานิล ปลาไน ปลาจีน เป็นต้น

ประเภทที่รุกราน เป็นประเภทที่ชอบการแข่งขันและมันส่งผลต่อระบบนิเวศทางตรงที่สำคัญเป็นชนิดที่แพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดการเปลี่ยนของระบบนิเวศและสิ่งมีชิวิตพื้นเมือง ได้แก่ ปลากดหลวง ปลาดุกแอฟริกัน หอยเชอรี่ เป็นต้น

 

รู้จัก \"เอเลี่ยนสปีชีส์\" สัตว์ต่างถิ่นที่ทำให้ระบบนิเวศสั่นสะเทือน

 

 

เอเลี่ยนสปีชีส์เข้ามารุกรานได้อย่างไร?

การที่สัตว์น้ำต่างถิ่นเข้าไปอาศัยในธรรมชาติได้นั้น ล้วนมีต้นตอจากมนุษย์โดยแบ่งได้ 2 วิธีใหญ่ๆ คือการรุกรานด้วยฝีมือมนุษย์  ที่นำเข้าโดยตั้งใจเป็นการปล่อยเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ  เช่น เพื่อการทำบุญตามความเชื่อ ปล่อยทิ้งเนื่องจาก เบื่อที่จะเลี้ยง หรือขาดทุนในการเพาะเลี้ยงเพื่อการค้า และการปล่อยทิ้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับกุมจากเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะสัตว์น้ำที่นำเข้ามาหรือครอบครองอย่างผิดกฎหมาย ไม่ว่าเป็น ปลากดเกราะ ปลากดเกราะดำ ปลาดุกแอฟริกัน หอยเชอร์รี่ ปลาหมอสีคางดำ ตะพาบไต้หวัน ปลาทับทิม ปลานิล 

การปล่อยโดยความตั้งใจอีกประเภท คือการปล่อยโดยหน่วยงานราชการเองเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการเพิ่มผลผลิตแหล่งน้ำในธรรมชาติและแหล่งน้ำที่ถูกสร้างขึ้น หรือการปล่อยในพิธีการและโครงการต่างๆ เช่น โครงการประชาอาสา โครงการประมงหมู่บ้าน รวมไปถึงการปล่อยเพื่อทำบุญของประชาชนที่อาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ด้วย การปล่อยสัตว์เหล่านี้จะส่งผลให้เกิดปัญหาระบบนิเวศ เกิดความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ สัตว์ท้องถิ่นชนิดอื่นมีจำนวนลดลงถึงขั้นสูญหาย เนื่องจากการถูกคุกคามจากสัตว์ต่างถิ่น

 

ทุกคนทำได้ไม่เพิ่มจำนวนเอเลี่ยนสปีชีส์

อย่านำสัตว์หรือพืชต่างถิ่นมาเพาะพันธุ์หรือนำเข้ามาโดยขาดความรู้ ความเข้าใจ และความรับผิดชอบ หรือสำหรับคนที่เลี้ยงหรืออยากนำเข้ามา เราจะต้องรู้วิธีะควบคุม เพราะถ้าหากวันหนึ่งเราเป็นคนที่เลี้ยงและปล่อยพวกมันออกไปสู่ธรรมชาติ จนควบคุมไม่ได้ อาจส่งผลให้เกิดผลเสียอื่นๆตามมา 

 

 

ข่าวยอดนิยม