ไลฟ์สไตล์

ใครๆก็เสี่ยงเป็น "โรคพุ่มพวง" แพ้ภูมิตัวเอง (SLE) แต่ส่วนใหญ่พบในผู้หญิง

เกิดได้กับทุกคนเป็นได้ทุกเพศทุกวัย "โรคพุ่มพวง" หรือโรคภูมิแพ้ตัวเองความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ส่วนใหญ่พบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เป็นโรคที่ยังไม่พบวิธีรักษาให้หายขาด และไม่สามารถระบุสาเหตุการเป็นโรคพุ่มพวงได้อย่างแน่ชัด 

โรคภูมิแพ้ตัวเอง Systemic Lupus Erythematosus (SLE) หรือโรคลูปัส คนไทยเรียกกันว่า “โรคพุ่มพวง” เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย พบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย พบบ่อยในช่วงวัยเจริญพันธุ์ 20 – 50 ปี แต่สาเหตุที่ภูมิคุ้มกันทำงานผิดพลาดนั้นยังไม่แน่ชัด คาดว่าเกิดจากปัจจัยทางกรรมพันธุ์ ร่วมกับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เป็นโรคพุ่มพวง  โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายซึ่งก่อให้เกิดการอักเสบและทำลายอวัยวะต่างๆ โดยเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย เช่น ข้ออักเสบ ผิวหนังอักเสบ ผื่นแดงตามผิวหนัง การอักเสบของเนื้อเยื่อ การอักเสบของไต และเส้นประสาทอักเสบ  โรคนี้ยังต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานและเคร่งครัดเนื่องจากอาการที่กำเริบอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้  หากป่วยเป็นโรคนี้ร่างกายจะมีการสร้างโปรตีนชนิดหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า Antinuclear Antibody ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้ชัดเจน

 

ใครๆก็เสี่ยงเป็น  \"โรคพุ่มพวง\" แพ้ภูมิตัวเอง (SLE) แต่ส่วนใหญ่พบในผู้หญิง

 

 

 

สาเหตุของโรคนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่นักวิจัยเชื่อว่าเกิดจากสาเหตุหลายประการรวมกัน 

  • พันธุกรรม
  • ปัจจัยทางสภาวะแวดล้อม เช่น แสงแดด (รังสีอัลตราไวโอเลต) ความเครียด
  • การติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อโรคอื่นๆ
  • การใช้ยาบางตัว เช่น methyldopa, procainamide, hydralazine, isoniazid, chlorpromazine 

 

ใครๆก็เสี่ยงเป็น  \"โรคพุ่มพวง\" แพ้ภูมิตัวเอง (SLE) แต่ส่วนใหญ่พบในผู้หญิง

 

อาการแพ้ภูมิตัวเองเป็นแบบไหน?

ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ตัวเอง SLE จะมีระดับความรุนแรงของอาการที่แตกต่างกัน อาการของโรคจะเป็นๆ หายๆ มีการกำเริบและสงบเป็นระยะ ซึ่งอาการทั่วไปที่พบได้บ่อยมี 

  • มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนังที่ได้รับแสงแดด โดยเฉพาะบริเวณจมูกและแก้ม
  • มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ผมร่วงมากขึ้น
  • มีอาการอักเสบ ปวด บวมตามข้อ
  • ไวต่อแสงแดด 
  • ข้อติด แข็ง ฝืด 
  • หายใจลำบาก
  • ตาแห้ง ปากแห้ง 
  • ปวดข้อ 
  • เบื่ออาหาร 
  • เกิดผื่นผิวหนังตามใบหน้า แขน ขา ที่อยู่บริเวณนอกเสื้อผ้า 
  • มีสภาวะเลือดจาง เม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ ถ้าโรครุนแรงอาจมีเม็ดเลือดแดงแตก ปอดอักเสบ ไตอักเสบ 

 

ใครๆก็เสี่ยงเป็น  \"โรคพุ่มพวง\" แพ้ภูมิตัวเอง (SLE) แต่ส่วนใหญ่พบในผู้หญิง

ภาวะแทรกซ้อนที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต

  • หัวใจและสมอง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือความจำเสื่อม 
  • ระบบเลือด เช่น ภาวะโลหิตจาง การติดเชื้อในกระแสเลือด 
  • ไต เกิดอาการไตอักเสบ มีปัสสาวะมีเลือดปนหรือมีฟองมากผิดปกติ
  • ปอด เยื่อบุรอบปอดอักเสบ 

 

วิธีการรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเอง SLE ทำได้อย่างไร?

โรคภูมิแพ้ตัวเอง SLE เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมให้อาการสงบได้ ซึ่งวิธีการรักษาจะแบ่งตามระดับอาการ ดังนี้  อาการไม่รุนแรงมาก แพทย์จะให้ยาเพื่อช่วยบรรเทาตามอาการ อาการรุนแรง เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในอวัยวะอื่นๆ จำเป็นต้องใช้ยากดภูมิต้านทานเพื่อช่วยควบคุมโรคให้สงบ

 

 

ใครๆก็เสี่ยงเป็น  \"โรคพุ่มพวง\" แพ้ภูมิตัวเอง (SLE) แต่ส่วนใหญ่พบในผู้หญิง

ข่าวยอดนิยม